เพราะเราทุกคนล้วนลำเอียง
มาดูวิธีที่ Meditation อาจช่วยเราได้
ธรรมชาติของความเชื่อที่เรามีในหัว อาจไม่สัมพันธ์กับรูปแบบของจิตไร้สำนึก

เมื่อใครก็ตามถามเราตรงๆ เกี่ยวกับทัศนคติของเรา เราพูดตรงกับใจทุกครั้งรึเปล่า ?
สำหรับใครที่มีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าทุกคนควรได้รับการปฏิบัติจากคนทุกเชื้อชาติอย่างเท่าเทียม คงจะไม่ยอมปล่อยให้ความคิดเรื่องอคติทางเชื้อชาติเกิดขึ้นในลูปชีวิตประจำวันของตัวเองใช่ไหมคะ
แต่น่าเสียดายที่ธรรมชาติของความเชื่อที่เรามีในหัว อาจไม่สัมพันธ์กับรูปแบบการทำงานของจิตใจและพฤติกรรมของเราเสมอไป สังคม วัฒนธรรม สื่อ และโครงสร้างทางสังคมสามารถป้อนความคิดเหยียดเชื้อชาติแบบเนียนๆ (และไม่ค่อยเนียน) ให้กับเรา
และเมื่อความคิดเหล่านี้ถูกป้อนอย่างซ้ำมาซ้ำไป จนกาลเวลาผ่านไป ความคิดเหล่านี้จะสร้างความเชื่อมโยงภายในจิตใจของเรา และปลูกฝังให้กลายเป็นอคติในจิตไร้สำนึกโดยที่เราไม่รู้ตัว -- ถึงปากเราจะบอกว่า "ไม่" ก็ตาม เราเรียกสิ่งนั้นว่า
"ทัศนคติแอบแฝง" (implicit bias) หรือ ความลำเอียงที่อยู่เหนือจิตสำนึกการควบคุม
โดยเราจะเผลอตีความ หรือรู้สึกกับสิ่งที่ไม่รู้จักโดยเอาประสบการณ์หรือทัศนคติที่มีมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น การไม่ชอบหน้าคนที่เห็นหน้ากันครั้งแรก ก็เพราะเราเอาประสบการณ์ ทัศนคติและรูปแบบ Stereotypes ที่เคยเจอมาตีความทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทันรู้จักกันเลยด้วยซ้ำ
Table of contents
- เมื่อใครก็ตามถามเราตรงๆ เกี่ยวกับทัศนคติของเรา เราพูดตรงกับใจทุกครั้งรึเปล่า ?
- การตัดสินใจในเสี้ยววินาทีของ "ทัศนคติแอบแฝง (Implicit Bias)"
- การทำงานของ Implicit Bias กับจิตใต้สำนึก
- แบบทดสอบจิตใต้สำนึก (IAT) ทำงานยังไง?
- มี "สติ" ผ่าน "อคติ"
- เทรนจิตสำนึกด้วยการทำสมาธิแบบ “Loving-kindness meditation”
- เลือกข้าง "ความเมตตา"
- ผลกระทบจาก Mindfulness คงอยู่นานแค่ไหน?

Credit: Lyubov Ivanova Getty Images
การตัดสินใจในเสี้ยววินาทีของ
"ทัศนคติแอบแฝง (Implicit Bias)"
เครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษา “ทัศนคติแอบแฝง” คือ Implicit Association Test (IAT) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อศึกษาจิตไร้สำนึกที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและพฤติกรรมของเรา
โดยแบบทดสอบจะแบ่งออกเป็น
- การทดสอบทัศนคติทางเพศ (ความชอบทางเพศ)
- การทดสอบทัศนคติต่อรูปร่าง
- การทดสอบทัศนคติต่อประเทศชาติ
- การทดสอบทัศนคติระหว่างอายุ
- , การทดสอบทัศนคติต่อสีผิว
- การทดสอบทัศนคติต่อลักษณะทางเชื้อชาติ
สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่ Implicit Association Test (IAT)

Implicit Association Test (IAT)
แบบทดสอบจิตใต้สำนึก (IAT) ทำงานยังไง?
ในการทดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์นี้ ผู้ทดสอบจะขอให้ผู้เข้าร่วมจัดประเภทสิ่งเร้าสองชุดให้เร็วที่สุด ในการตรวจสอบอคติทางเชื้อชาติ ผู้ทดสอบต้องกำหนดให้ใบหน้าของคนผิวสีหรือคนผิวขาวเป็นหมวดหมู่บวกหรือลบ
คอนเซ็ปก็คือในคนที่มี implicit bias หรือ ทัศนคติแอบแฝง ต่อคนผิวสี (เช่น พวกเขาเชื่อมโยง "คนผิวสี" กับ "คนไม่ดี") พวกเขาจะใช้เวลานานขึ้นในการกดปุ่มเพื่อกำหนดคนผิวสีให้อยู่ในหมวดหมู่เชิงบวก ความล่าช้าเป็นผลมาจากการที่สมองประมวลผลในการจัดกลุ่มช้าลงเล็กน้อย
ในขณะเดียวกัน พวกเขาจะจัดประเภทคนผิวขาวเข้าหมวดหมู่บวกได้เร็วกว่า เพราะสิ่งนี้ตรงกับการเชื่อมโยงที่มีอยู่ในจิตใจของพวกเขา
ถึงแม้จะมีการถกเถียงกันว่าคะแนน IAT สัมพันธ์กับพฤติกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน
แต่การทดสอบนี้ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ (และถูกใช้ทั่วไปในต่างประเทศ) ในการตรวจสอบความสัมพันธ์แบบไร้จิตสำนึกของเรา
การศึกษาโดยใช้ IAT ในกลุ่มชาวสหรัฐฯ จาก Project Implicit ของ Harvard พบทัศนคติที่ต่อต้านคนผิวสีอย่างสม่ำเสมอตลอดการทดสอบ นี่อาจเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงในหมู่คนผิวสี (และคนเอเชียเช่นกัน) เพราะอคติเหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่า อคติเรื่องการเหยียดเชื้อชาติที่อยู่เหนือจิตสำนึกนี้ ยังคงดำเนินไปในสังคมโดยไม่รู้ตัว
“รูปแบบการผลิตภาพซ้ำและการตีตราเพื่อลดค่า เป็นเหมือนเชื้อเพลิงสำหรับทัศนคติแอบแฝงของตัวเรา”
ทัศนคติแอบแฝงอาจส่งผลต่อการตัดสินใจและพฤติกรรมของเรา (ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมโยงระหว่างอคติโดยนัยกับพฤติกรรมในโลกจริงไม่สอดคล้องกันเสมอไป) มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความไว้วางใจด้านเศรษฐกิจ (economic trust exercise) พบว่าผู้เข้าร่วมที่มี IAT ต่อคนผิวขาวสูงเลือกที่จะ "ลงทุน" ในหุ้นกับคนผิวสีน้อยกว่า
ทัศนคติแอบแฝงยังส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ : ทัศนคติแอบแฝงของผู้ที่มีอาชีพงานบริการ (เช่น แพทย์ พยาบาล) สามารถส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมในการให้ปรึกษา การรักษา การเอาใจใส่ และทำให้การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการแย่ลง

RIAN STAUFFER
การทำงานของ Implicit Bias กับจิตใต้สำนึก
ทัศนคติทางเชื้อชาติสะท้อนอยู่ในสมองของเราเช่นกัน งานวิจัย neuroimaging study ได้ทำการสแกนสมองคนอเมริกันผิวขาวในขณะที่พวกเขามองใบหน้าที่ไม่คุ้นเคยของ “คนผิวสี” กับ “คนผิวขาว”
นักวิจัยพบว่าไม่เพียงแค่การกระตุ้นต่อม amygdala (ต่อมบริเวณสมองที่ประมวลผลต่อสิ่งเร้าที่คุกคามเรา) มีสูงในใบหน้าคนผิวสีมากกว่าใบหน้าคนผิวขาวเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นต่อม amygdala จากถูก “คุกคาม” ไปถึงระดับ “ต่อต้านคนผิวสี”
กล่าวได้ว่า ยิ่งคนมีทัศนคติแอบแฝงต่อเชื้อชาติมากเท่าไหร่ ต่อม amygdala ของพวกเขาก็ยิ่งตอบสนองต่อใบคนผิวสีมากขึ้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าผู้เข้าร่วมจะให้สัมษภาณ์ด้วยตนเอง แบบ self-reported (มีสติ) ก็ตาม ซึ่งบ่งชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองสะท้อนถึงจิตไร้สำนึกภายใน

มี “สติ” ผ่าน “อคติ”
สิ่งที่งานวิจัยบอกกับเราคือ ถึงแม้บางคนจะความเชื่อใน “ความเท่าเทียม” อย่างแน่วแน่แค่ไหน แต่ด้วยปัจจัยอื่นๆ อย่าง จิตวิทยา วัฒนธรรม กลับมีอิทธิพลต่อการรับรู้และการกระทำของพวกเขาจนทำให้เกิดทัศนคติที่ “ไม่เท่าเทียม” ได้
งานวิจัยยังบอกกับเราว่า การที่เราคิดไตร่ตรอง อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่งเราทำเพื่อซ่อนทัศนคติแอบแฝง โดยการเปลี่ยนรูปแบบคำตอบทางจิตสำนึกที่เรา (เผลอ) ยึดเอาไว้อย่างลึกซึ้ง
ด้วยโครงสร้างทางสัมคมที่เราอยู่ เป็นเรื่องง่ายที่เราจะใช้ชีวิต และเผลอไปจัดหมวดหมู่ให้กับบุคคลอื่น โดยตัดสินจาก รูปลักษณ์ พฤติกรรม และปัจจัยภายนอกอื่นๆ ถึงเราจะไม่ได้ตั้งใจ แต่รูปแบบการผลิตซ้ำเหล่านี้อาจเป็นเชื้อเพลิงให้กับ “ทัศนคติแอบแฝง” ให้เติบโตขึ้นในอนาคตได้

เทรนจิตสำนึกด้วยการทำสมาธิแบบ
“Loving-kindness meditation”
การฝึกสติในศาสตร์ Mindfulness มีความหลากหลายพอที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับทุกคนได้ ขอแนะนำ “Loving-kindness meditation” หรือการทำสมาธิด้วยความความเห็นอกเห็นใจ ที่สามารถช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามขอบเขตทางทัศนคติมีต่อผู้อื่น
ด้วยพื้นฐานของแนวคิดที่ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการมีความสุข ปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมาน การเน้นย้ำถึงความเป็นมนุษย์ช่วยให้เราก้าวข้ามขอบเขตความชอบส่วนบุคคลของได้เรา
“การทำสมาธิแบบ Loving-kindness meditation เมื่อเราพูดว่า 'ขอให้เธอมีความสุข' เราไม่จำเป็นต้องหมายความว่า 'ฉันต้องการให้เธอมีความสุข' — แต่ความรู้สึกของฉันกลับถูกลบออกไป
แต่หมายถึง เราต้องการให้พวกเขาเป็นอิสระจากตัวเอง – สิ่งที่ครอบงำพวกเขา” Yoona Kang ผู้อำนวยการวิจัยของ Communication Neuroscience Lab ที่ Annenberg School for Communication แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียกล่าว

“เลือกการมีส่วนร่วมในฝึกสมาธิที่ส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคและความเห็นอกเห็นใจ ช่วยให้เราเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่แบบไร้จิตสำนึกที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของเราได้”
ในปี 2014 Yoona Kang (ขณะนั้นอยู่ที่มหาวิทยาลัยเยล) ได้ทำการศึกษา โดยสุ่มอาสาสมัครให้ฝึกสมาธิ Loving-kindness meditation เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พร้อมให้ผู้ทดสอบวัดค่า IAT ของทัศนคติแอบแฝงที่มีต่อคนผิวสี และคนเร่ร่อน
หลัง 6 สัปดาห์ การงานวิจัยพบว่า ทัศนคติแอบแฝงต่อคนผิวสีและคนเร่ร่อนลดลง (ถ้าเทียบกับค่าเฉลี่ยพื้นฐาน) แน่นอนว่านี่เป็นการวัดผลเพียงครั้งเดียวและทัศนคติแอบแฝงอาจแปรผันตามกาลเวลา เราจึงบอกไม่ได้ว่ามันจะหายไปอย่างถาวร
แต่การทดสอบนี้ก็แสดงให้เราเห็นว่าเพียงแค่เราเริ่ม “เรียนรู้” และ “พูดคุย” ถึงมุมมองด้านความเห็นอกเห็นใจและความเสมอภาคก็สามารถสร้างความเป็นแปลงในจิตสำนึกของเราได้

เลือกข้าง “ความเมตตา”
นักวิจัยแนะนำว่า mindfulness สามารถช่วยให้เรา “อยู่กับปัจจุบัน” ได้มากขึ้น โดยตอบสนองต่อประสบการณ์ที่สดใหม่และไม่พึ่งพาความสัมพันธ์ในอดีตมากนัก
กรณีศึกษาในปี 2020 ได้จัดให้มีการฝึกอบรมครูผู้สอนก่อนเรียนสำหรับหนึ่งภาคการศึกษาด้วยการฝึกสมาธิและการสร้างเชื่อมโยง (อย่าง loving-kindness) และติดตามผลกระทบต่ออคติทางเชื้อชาติจากการวัดค่า IAT
พบว่าการแทรกแซงนี้ช่วยลดอทัศนคติแอบแฝงต่อเด็กและผู้ใหญ่ผิวสี และผลกระทบนี้ยังคงอยู่ในอีก 6 เดือนต่อมา โดยไม่มีการฝึกอบรมเพิ่มเติม ด้วยผลกระทบอันทรงพลังของการรับรู้ของครูที่มีต่อประสิทธิภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความสำเร็จของนักเรียน ผลลัพธ์เหล่านี้เน้นตัวเลือกสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในการศึกษาของครู
ถึงแม้ว่างานวิจัยนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่การผลของงานวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่น่าตื่นเต้นสำหรับการเปลี่ยนแปลง และจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นของการทำสมาธิรูปแบบต่างๆ ต่อการลดอคติอย่างถาวร
อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่เรายังคงสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอคติสังคม อย่าลืมสนับสนุนความเมตตาภายในจิตใจของเราด้วยนะคะ การเลือกมีส่วนร่วมที่ส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคและความเห็นอกเห็นใจ เราสามารถช่วยเปลี่ยนอคติแอบแฝงที่เคยขับเคลื่อนพฤติกรรมของเราได้เช่นกันค่ะ